เจเอ็นอาร์ คลาสดีเอ็กซ์ 50
เจเอ็นอาร์ คลาสดีเอ็กซ์ 50

เจเอ็นอาร์ คลาสดีเอ็กซ์ 50

รถจักรไอน้ำมิกาโด ดีเอ็กซ์ 50 (DX50 steam locomotive) (JNR Class DX50) (ญี่ปุ่น: DX50形)[1] ส่วนใหญ่เรียกรถจักรนี้ว่า รถจักรไอน้ำมิกาโด เป็นชุดรถจักรไอน้ำสุดท้ายของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ใช้ในประเทศไทย สร้างโดยสมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่น จุดประสงค์หลักของรถจักรไอน้ำที่ถูกออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการลากจูงขบวนรถไฟบรรทุกสินค้าและขบวนรถที่วิ่งบนเส้นทางภูเขา รวมถึงขบวนรถที่มีน้ำหนักมากบนเส้นทางตอนราบในประเทศไทยโดยเฉพาะ ซึ่งมีสมรถนะที่แตกต่างจาก รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิก ซีเอ็กซ์ 50 ที่ใช้ลากจูงขบวนรถโดยสารบนเส้นทางตอนราบ ปัจจุบัน รถจักรไอน้ำมิกาโด DX50 คงเหลือส่วนห้องขับทั้งหมด 5 ห้อง ได้แก่ของหมายเลข 354 , 370 , 938 , 940 และ 954 และคงเหลือทั้งตัวรถจักรไอน้ำทั้งหมด 8 คัน แบ่งเป็นจอดเป็นอนุสรณ์ 7 คัน คือหมายเลข 351 , 353 , 943 , 950 , 955 , 962 และ 965 และสามารถใช้การได้ 1 คัน คือหมายเลข 953 ซึ่งจะวิ่งในวันสำคัญต่างๆ โดยปัจจุบันนี้ หมายเลข 953 อยู่ในระหว่างการรอซ่อมแซม นอกจากนี้รถจักรไอน้ำมิกาโดะมีจำนวนรถทั้งสิ้น 97 คัน คือหมายเลขรถ 351-378 และ 901-970 โดยการนำเข้ามาใช้งาน แบ่งเป็นสองช่วง (ล็อต) ต่อไปนี้ รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด ดีเอ็กซ์ 50 ถูกสร้างขึ้นโดย “สมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น”(Japanese Association) ซึ่งในสมาคมจะประกอบไปด้วยบริษัทผู้สร้างหลายบริษัทด้วยกัน ทั้งนี้เมื่อมีคำสั่งให้ผลิตรถจักรไอน้ำญี่ปุ่น มิกาโด ทาง สมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น จะกระจายคำสั่งการผลิตนี้ให้กับ 5 บริษัทที่รับผิดชอบในการสร้างรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด ดีเอ็กซ์ 50 ดังนี้1. บริษัท นิปปอน ชาเรียว เซโซะ ไกรชะ จำกัด โรงงานตั้งอยู่ที่นครนาโงยะ, จังหวัดไอจิ, ประเทศญี่ปุ่น (ผลิตรถจักรหมายเลข 351, 352, 363 และ 364)2. บริษัท กิช่า เซโซะ ไกรชะ จำกัด โรงงานตั้งอยู่ที่นครโอซากะ, จังหวัดโอซากะ, ประเทศญี่ปุ่น (ปัจจุบันถูกควบรวมกิจการโดย บริษัท คาวาซากิเฮฟวี่อินดรัสทรีส์ จำกัด ไปเมื่อเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2515)3. บริษัท คาวาซากิเฮฟวี่อินดรัสทรีส์ จำกัด โรงงานตั้งอยู่ที่ระหว่างนครโคเบะ และ เขตมินาโตะ (โตเกียว), ในกรุงโตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น4. บริษัท ฮิตาชิ จำกัด (มหาชน) โรงงานตั้งอยู่ที่ในกรุงโตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น5. บริษัท มิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์ จำกัด โรงงานตั้งอยู่ที่เมืองมิฮาระ, จังหวัดฮิโรชิมะ, ประเทศญี่ปุ่น (ผลิตรถจักรหมายเลข 908, 909, 915, 916, 928, 929, 930, 935, 936, 940, 943, 944, 946, 949, 950, 960, 963, 967 และ 970)

เจเอ็นอาร์ คลาสดีเอ็กซ์ 50

ระบบห้องขับ มี 1 ห้องขับ,ฝั่ง
จำนวนคันทั้งหมด 98 คัน
น้ำหนัก จอดนิ่ง 48.80 ตัน
ทำงาน 51.30 ตัน
กดเพลา 10,500 กก.
ความเร็วสูงสุด 85 กม./ชม.
เริ่มใช้งาน พ.ศ. 2479-พ.ศ. 2488 (หมายเลข 351-378)
พ.ศ. 2492-พ.ศ. 2494 (หมายเลข 901-970)
ผู้สร้าง สมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น, ประเทศญี่ปุ่น
ความจุ 10 ลบม.
หมายเลข 351-378, 901-970
การจัดวางล้อ 2-8-2 (มิกาโด)
พิกัดตัวรถ กว้าง 3,750 มม.
สูง 3,870 มม.
ยาว 18,945 มม.
จำนวนคันที่ถูกตัดบัญชี 96 คัน
ชื่อทางการ รถจักรไอน้ำแห่งการรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น ชั้น DX50
แรงม้า 1280 แรงม้า
จำนวนคันที่คงเหลือใช้งาน 1 คัน
ระบบห้ามล้อ สุญญากาศ (ลมดูด) (ดั้งเดิม)
ชนิด รถจักรไอน้ำ
จำนวนคันที่ปรับปรุง 1 คัน
ใช้งานใน ประเทศไทย โดย การรถไฟแห่งประเทศไทย
รวมระยะเวลาใช้งานทั้งหมด 86 ปี

แหล่งที่มา

WikiPedia: เจเอ็นอาร์ คลาสดีเอ็กซ์ 50 http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Foru... http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Foru... http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Foru... http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Foru... http://www.tiewplearn.com/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8... https://gtaforums.com/topic/927743-historical-rail... https://photobucket.com/gallery/user/chayain/media... https://photobucket.com/gallery/user/chayain/media... https://photobucket.com/gallery/user/chayain/media...